ก่องข้าวดอกงานฝืมือ

เส้นตอกผิวไม้ไผ่วางเรียงรายอยู่เบื้องหน้าพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยในชนบทล้านนา พวกเขาค่อยหยิบจับเส้นที่ได้ขนาด ผ่านการคัดสรรมาด้วยภูมิปัญญาโบราณที่ตกทอดมารุ่นสู่รุ่น สองมือค่อย ๆ จักสานไปตามแบบแผนของลวดลายดั้งเดิม
ก่องข้าวดอกงานฝืมือ
จนเมื่อตอกไผ่หลายเส้นค่อยถูกสานขึ้นเป็นรูปทรง ปรากฏเป็น “ก่องข้าวดอก” ภาชนะที่คนแถบถิ่นภาคเหนือเคยคุ้นยามไว้ใส่ข้าวเหนียวทั้งในครัวเรือนและส่งขายออกไปนอกชุมชน หลายอย่างถูกสืบสานอยู่ในงานหัตถศิลป์อันเรียบง่าย ทว่าแสนสวยงาม มีเสน่ห์ยามหยิบจับใช้สอย
ระหว่างกลิ่นกรุ่นหอมของข้าวพันธุ์ดีที่นึ่งจนได้ที่ค่อยบรรจุลงในก่องข้าวดอก ความร้อนและความนุ่มหอมถูกกักเก็บไว้ภายใน ไม่เพียงภาชนะในครัวเรือนชนิดหนึ่งจะได้ทำหน้าที่ของมัน หากแต่ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวของงานหัตถศิลป์พื้นบ้านล้านนาที่สั่งสมและสืบสานผ่านลวดลายและรูปทรงอยู่ ณ ท้องถิ่นเล็ก ๆ อย่างน่าชื่นชม
วัฒนธรรมการกินข้าวเป็นอาหารหลักตกทอดอยู่ในสังคมไทยมาแต่โบราณแทบทุกภูมิภาค เคียงข้างกันคือการรู้จักคิดค้น ประดิษฐ์ และสร้างสรรค์ภาชนะไว้ใส่ข้าว ทั้งเพื่อความสะดวกและเพื่อถนอมอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติใกล้ตัวมาประกอบ เช่น ไผ่ หวาย ใบลาน ไม้สัก แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น สล๊อตเว็บตรงแตกง่าย
ก่องข้าวดอกงานฝืมือ
เครื่องจักสานเพื่อการเก็บข้าวให้ยังคงความร้อน ป้องกันความชื้น ระบายอากาศ ถูกเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นถิ่น คนอีสานเรียกว่ากระติ๊บข้าว คนภาคกลางเรียกกล่องใส่ข้าวเหนียว ขณะที่ผู้คนล้านนาเรียกต่อเนื่องกันมาว่า “ก่องข้าว” เว็ปตรงแตกหนัก
ภูมิปัญญาในการทำกล่องใส่ข้าวเหนียว กระติ๊บข้าว หรือก่องข้าวนั้น ส่วนใหญ่มีวิธีการทำคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันบ้างในรายละเอียด เช่น กระติ๊บข้าวของคนอีสานนิยมสานจากไม้ไผ่เป็นสีจากธรรมชาติ ไม่มีลวดลาย ขณะที่ก่องข้าวของทางภาคเหนือนิยมทำจากใบลานสานและทำจากไม้ไผ่ มีลวดลายสะท้อนเอกลักษณ์ของภาคเหนือและมีสีสันสวยงาม
ที่บ้านไผ่ปง ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง หมู่บ้านกสิกรรมที่เก่าแก่มาแต่โบราณ นอกจากการเพาะปลูกที่เคียงข้างชุมชน พวกเขายังสืบสานการสานก่องข้าวดอกมาแต่ยุคบรรพบุรุษ “ชาวแจ๊ะ” ที่ถือเป็นชนพื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่ยุคก่อร่างประวัติศาสตร์ล้านนานับหลายร้อยปี พวกเขาสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมในการทำก่องข้าวดอก จากแต่เดิมที่สานเพื่อแลกกับข้าวจากหมู่บ้านอื่น จนในวันที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนกันด้วยเงิน ชาวบ้านไผ่ปงจึงพัฒนางานสานก่องข้าวดอกเป็นหัตถกรรมท้องถิ่นเพื่อขายเป็นของใช้และของที่ระลึก สล็อตเว็บตรง
ก่องข้าวดอกงานฝืมือ
กล่าวสำหรับชาวแจ๊ะและชื่ออำเภอแจ้ซ้อน จากตำนานที่เล่าถึงชุมชนในเมืองแจ้ห่ม ว่าเมืองเก่าแก่กลางขุนเขาแห่งนี้ แต่เดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวลัวะ ซึ่งแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่บนดอยมักเรียกตนเองว่า “ลัวะ” ส่วนอีกกลุ่มที่อาศัยอยู่แถบที่ลุ่มจะเรียกตนเองว่า “แจ๊ะ” ทั้งลัวะและแจ๊ะต่างตั้งชุมชนอย่างสงบสุขอยู่ในเขตเมืองแจ้ห่ม จนถูกพญาหลวงคำแดง ทหารของพญางำเมืองแห่งเมืองภูกามยาว หรือพะเยา ยกทัพมาตีบ้านเมือง พวกลัวะและแจ๊ะจึงได้พากันอพยพย้ายโยกย้ายไปอยู่รวมกันที่อื่น ซึ่งภาษาเหนือเรียกการรวมกลุ่มกันหลาย ๆ คนเป็นกลุ่มใหญ่ว่า “ข้อน” ต่อมาจึงเรียกว่า “แจ๊ะข้อน” ส่วนพวกแจ๊ะบางกลุ่มก็หนีไปซ่อน เลยเรียกเป็น “แจ๊ะซ่อน” และเพี้ยนมาเป็น “แจ้ซ้อน” ในปัจจุบัน
ต่อมาบริเวณเมืองที่อยู่เดิมของพวกแจ๊ะเกิดแผ่นดินถล่ม เจ้าเมืองและชาวบ้านต่างหนีตายไปหมด พวกแจ๊ะที่รักถิ่นฐานเดิมของตนเองรู้ข่าวเมืองถล่มจนผู้คนหลบหนีออกไปจากเมือง จึงอพยพกลับมาตั้งบ้านเรือนใกล้ ๆ กับเมืองเก่า แต่ด้วยความกลัวว่าแผ่นดินจะถล่มขึ้นมาอีก พวกแจ๊ะจึงเดินห่มตัว คือขย่มตัวทำให้ตัวเบาจนกลายเป็นนิสัย ชาวบ้านจึงเรียกพวกนี้ว่า “แจ๊ะห่ม” ก่อนจะเพี้ยนมาเป็น “แจ้ห่ม” สล็อตเว็บตรง
ชาวบ้านไผ่ปงที่ถือเป็นลูกหลานของชาวแจ๊ะต่างใช้ชีวิตกสิกรรมกลางแดนดอยมาพร้อม ๆ กับการสืบสานการจักสานก่องข้าวดอกมานับร้อยปี ก่องข้าวของพวกเขาพิเศษแตกต่างจากท้องถิ่นอื่นคือ การสานลวดลายหลากหลายและมีสีสันสวยงาม หลังจากนำไผ่ซางที่จักตอกเรียบร้อยมาสานขึ้นฐาน พวกเขาเลือกฉีกเส้นไผ่ออกเป็นเส้นเล็กลงแล้วสานต่อด้วยทักษะให้เป็นก่องข้าวหลายรูปทรง ทั้ง ก่องข้าวคอกิ่ว ก่องข้าวคอเลิง และเกลากลึงไม้สักมาทำเป็นขาก่องข้าว ร้อยเชือกหวายทำหูห้อย
เมื่อลงลึกไปในลวดลายต่าง ๆ ที่ทำให้ก่องข้าวดอกของคนบ้านไผ่ปงยิ่งเปี่ยมคุณค่า จะพบการยกดอกลวดลายด้านนอก เช่น ลายจันเกี้ยว ซึ่งถือเป็นลายโบราณ ต่อยอดสู่ลายจันแปดกลีบ ลายดอกแก้ว ลายประแจจีน ลายกำเบ้อและลายกำบี้ ลายสอง ลายสาม ฯลฯ โดยใช้สีที่สกัดจากเปลือกต้นหยีและต้นครามที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ก่อนที่จะใช้สีสำเร็จเช่นในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดถือเป็นพัฒนาการทางลวดลายที่เติบโตมาเคียงข้างประวัติศาสตร์ชุมชน สล็อตเว็บตรง
ก่องข้าวดอกของคนบ้านไผ่ปงมีเคล็ดลับอยู่ที่การสานเป็นสองชั้น ชั้นในสุดสานด้วยตอกให้มีช่องว่างเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในตัวก่อง ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานให้ชิดแน่นหนากว่า เพื่อเก็บกักไอน้ำที่มีความร้อน ช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในยังคงอุ่น ไม่มีไอน้ำเกาะ ข้าวจึงไม่แฉะ สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์
นอกจากก่องข้าวดอกจะถูกใช้ในชีวิตประจำวันของคนบ้านไผ่ปงและคนพื้นถิ่นล้านนา พวกเขายังพิถีพิถันกับลวดลายและการสานเป็นพิเศษเมื่อต้องใช้ก่องข้าวดอกในโอกาสสำคัญ ๆ เช่น การต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานบุญ หรือถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ทั้งเป็นหน้าเป็นตาและเป็นการแสดงออกถึงศรัทธาอันแน่นแฟ้นของชาวบ้านที่มีต่อพระพุทธศาสนา
จากบันทึกของชาวต่างชาติที่เดินทางที่เข้ามาสำรวจดินแดนสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ และขึ้นมาสู่แผ่นดินล้านนาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือ Temples and Elephants : Travels in Siam in 1881-1882 โดยผู้แต่งคือ Carl Alfred Bock นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ได้บันทึกภาพก่องข้าวโบราณชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกต่อกันมาว่า “ก่องข้าวดอกกำบึ้งหลวง” หรือกล่องข้าวลายแมงมุมใหญ่ เส้นตอกที่จักสานและย้อมมะเกลือให้เป็นสีดำตกทอดเป็นงานหัตถศิลป์มาสู่ลูกหลานนับหลายร้อยปี สะท้อนทั้งเอกลักษณ์ท้องถิ่นรวมไปถึงประวัติศาสตร์บางด้านของแผ่นดินล้านนา